ภาพจาก สำนักงาน กปร.
วันพฤหัสบดีที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง
วันอังคารที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2560
การจัดหาและออกแบบโครงการแก้มลิง
ทั้งนี้โครงการแก้มลิงแบ่งเป็น ๒ ส่วนคือ โครงการระบายน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจะใช้คลองที่ตั้งอยู่ชายทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการ ทำหน้าที่เป็นทางเดินของน้ำ ตั้งแต่จังหวัดสระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร
ส่วนที่สอง คือคลองในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะใช้คลองมหาชัย คลองสนามชัย และแม่น้ำท่าจีน ทำหน้าที่เป็นคลองรับน้ำในพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดอ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี นครปฐม และกรุงเทพมหานคร แล้วระบายลงสู่ทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร
นอกจากนี้ยังมีโครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง" เพื่อช่วยระบายน้ำที่ท่วมให้เร็วขึ้น โดยใช้หลักการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดการระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทย เมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ ซึ่งโครงการนี้จะประกอบไปด้วย 3 โครงการในระบบคือ
1.โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง"
2.โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย"
3.โครงการแก้มลิง "คลองสุนัขหอน"
ด้วยพระปรีชาญาณ
และพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ที่ทรงห่วงใยพสกนิกรของพระองค์ "โครงการแก้มลิง" จึงเกิดขึ้น
และช่วยบรรเทาวิกฤต และความเดือดร้อนจากน้ำท่วมรอบกรุงเทพมหานคร
และปริมณฑลให้เบาบางลงไปได้ โดยอาศัยเพียงแค่วิธีการทางธรรมชาติ
วันเสาร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ประเภทและขนาดของโครงการแก้มลิง
ประเภทและขนาดของโครงการแก้มลิงนั้นมี
3 ประเภท ได้แก่
ประเภทแรก แก้มลิงขนาดใหญ่ คือสระน้ำหรือบึงขนาดใหญ่ ที่รวบรวมน้ำฝนจากพื้นที่บริเวณนั้น ๆ
โดยจะเก็บกักน้ำไว้เป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะระบายลงสู่ลำน้ำ
การจัดสร้างพื้นที่ชะลอน้ำ หรือพื้นที่เก็บกักน้ำจะมีหลายประเภท อาทิ เขื่อน
อ่างเก็บน้ำ ฝาย ทุ่งเกษตรกรรม เป็นต้น ลักษณะสิ่งก่อสร้างเหล่านี้
มักมีวัตถุประสงค์อื่นประกอบด้วย อาทิ เพื่อการชลประทาน หรือเพื่อการประมง เป็นต้น
ประเภทที่สอง แก้มลิงขนาดกลาง เป็นพื้นที่ชะลอน้ำที่มีขนาดเล็กกว่า ได้มีการก่อสร้างในระดับลุ่มน้ำ
ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ธรรมชาติ เช่น หนอง บึง คลอง เป็นต้น
ประเภทที่สาม แก้มลิงขนาดเล็ก คือ แก้มลิงที่มีขนาดเล็กกว่าอาจเป็นพื้นที่สาธารณะ สนามเด็กเล่น
ลานจอดรถ หรือสนามในบ้าน ซึ่งต่อเข้ากับระบบระบายน้ำหรือคลอง
วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
จุดประสงค์ของโครงการแก้มลิง
โครงการแก้มลิง “คลองมหาชัย – คลองสนามชัย” เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
มีวัตถุประสงค์ในการช่วยระบายน้ำท่วมขังจากพื้นที่ตอนบน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งธนบุรี) ในเขตกรุงเทพฯ
และปริมณฑล เพื่อระบายน้ำออกสู่ทะเลโดยเร็วที่สุด โดยการก่อสร้างประตูระบายน้ำ
(ปตร.) ปิดกั้นคลองสายต่าง ๆ พร้อมสถานีสูงน้ำตามความจำเป็น โดย “แก้มลิง” จะทำหน้าที่รวบรวม
รับ และดึงน้ำท่วมขังจากพื้นที่ตอนบนลงมาเก็บไว้ในคลองมหาชัย – คลองสนามชัย
และคลองต่าง ๆ ในพื้นที่ แล้วสูบทิ้งลงทะเลผ่านทางปากคลองมหาชัย คลองพระราม และคลองขุนราชพินิจใจ
ในช่วงที่ระดับน้ำทะเลหนุนสูง รวมทั้งการเปิดระบายออกสู่อ่าวไทยตามจังหวะการขึ้น – ลง
ของน้ำทะเล โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก
เช่นเดียวกับโครงการทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา
ซึ่งดำเนินการได้ผลมาแล้วเมื่อคราวน้ำท่วมใหญ่ ปี พ.ศ. 2538
(โครงการแก้มลิง คลองมหาชัย-คลองสนามชัย)
วันพุธที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
ความเป็นมาของโครงการแก้มลิง
"...ตามปกติเวลาเราให้กล้วยกับลิง ลิงจะเคี้ยวแล้วเก็บไว้ในแก้มลิง ...
เขาเคี้ยวแล้วเอาไปเก็บในแก้ม
น้ำท่วมลงมา ถ้าไม่ทำ " โครงการแก้มลิง "
น้ำท่วมนี้จะเปรอะไปหมด อย่างที่เปรอะปีนี้
เปรอะไปทั่วภาคกลาง จะต้องทำ " แก้มลิง " เพื่อที่จะเอาน้ำปีนี้ไปเก็บไว้..."
พระราชดำรัส 4 ธันวาคม 2538
โครงการแก้มลิง เป็น ส่วนหนึ่งของโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลตามแนว พระราชดำริ โดยประกอบด้วย โครงการขุดลอกคลองระบายน้ำและกำจัดวัชพืชและโครงการปรับปรุงและ ก่อสร้างสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำ
ตามที่ได้ เกิดสภาวะน้ำท่วมหนักในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อ พ.ศ.2538 อันสืบเนื่องมาจากฝนตกหนักในลุ่มน้ำตอนบน ทำให้ปริมาณน้ำจำนวนมาก ไหลหลากท่วมพื้นที่อย่างรุนแรงในลุ่มแม่น้ำยมและน่าน เสริมกับปริมาณน้ำล้นอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ไปหลากท่วมพื้นที่ทางด้าน ท้ายน้ำอย่างหนัก และส่งผล กระทบต่สภาวะน้ำท่วมในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งรวมถึงเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เป็นเวลานานกว่า 2 เดือน
คืนวันที่ 14 พฤศจิกายน 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่ดูแลปัญหาน้ำท่วมเข้าเฝ้าฯ เพื่อรับพระราชทานแนวพระราชดำริการป้องกันน้ำท่วม ในพื้นที่บริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑลโดยทรงเปรียบเทียบการ กินอาหารของลิงหลังจากที่ลิง เคี้ยวกล้วยแล้วจะยังไม่กลืน แต่จะเก็บไว้ภายในแก้มทั้งสองข้างแล้วค่อย ๆ ดุนกล้วยมากินในภายหลัง
เช่นเดียวกับกรณีการผันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งน้ำที่ขึ้นมาตามซอยต่าง ๆ เมื่อน้ำทะเลหนุนให้ไปเก็บไว้ที่บึงใหญ่ที่อยู่ใกล้กับพื้นที่ชายทะเล และมีประตูน้ำขนาดใหญ่สำหรับปิดกั้นน้ำบริเวณแก้มลิงสำหรับฝั่งตะวันตกจะ อยู่ที่คลองชายทะเลด้านฝั่งตะวันออกบริเวณแก้มลิงจะอยู่ที่คลองสรรพสามิต เมื่อเวลาน้ำทะเลลดลงให้เปิดประตูระบายน้ำออกไป บึงจะสามารถรับน้ำชุดใหม่ต่อไป
ทั้งนี้ นอกจากโครงการแก้มลิงจะมีขึ้นเพื่อช่วยระบายน้ำ สามารถลดปัญหาน้ำท่วมได้ ลดความรุนแรงของปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานครและบริเวณใกล้เคียงแล้ว ยังเป็นการช่วยอนุรักษ์น้ำและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยน้ำที่ถูกกักเก็บไว้ เมื่อถูกระบายสู่คูคลอง จะไปบำบัดน้ำเน่าเสียให้เจือจางลง และในที่สุดน้ำเหล่านี้จะผลักดันน้ำเสียให้ระบายออกไปได้
อ้างอิง: https://rungsairhiantong.wordpress.com/2014/12/21/ความเป็นมาของโครงการแก/
http://kamlingproject.blogspot.com/p/blog-page_9181.html
อ้างอิง: https://rungsairhiantong.wordpress.com/2014/12/21/ความเป็นมาของโครงการแก/
http://kamlingproject.blogspot.com/p/blog-page_9181.html
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)